ปิยบุตร โพสต์เฟซบุ๊ก ลั่น ต้องทำลาย ‘กรงขังกฎหมาย’ ชี้เป็นการล้อกรอบลดอำนาจ ส.ส. บังคับให้นักการเมืองต้องสยบยอมต่อรัฐบาล ปิยบุตร แสงกนกกุล แกนนำคณะก้าวหน้า อดีตส.ส.และเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ เขียนข้อความเฟซบุ๊กแสดงความเห็นว่า ต้องทำลาย “กรงขังทางกฎหมาย” ที่ล้อมครอบนักการเมืองจนทำให้นักการเมืองไม่กล้าทำอะไร ชี้เป็นการลดทอนอำนาจของ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย
โดยข้อความเฟซบุ๊กระบุว่า “ทำไมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยในยุคปัจจุบันไม่กล้าอภิปรายเหมือนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในช่วง พ.ศ.2475-2500?
ทำไมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยในยุคปัจจุบันไม่กล้าอภิปรายถึงสถาบันกษัตริย์? อย่าว่าแต่อภิปรายเลย แค่คำว่า “กษัตริย์” “พระมหากษัตริย์” “สถาบันกษัตริย์” ก็ไม่กล้าแม้แต่จะพูด หากจำเป็นต้องกล่าวถึง ก็เลี่ยงไปใช้คำว่า “สถาบัน” มิพักต้องพูดถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบางคนที่พอได้ยินคำว่า “กษัตริย์” แล้ว เหมือนปุ่มกลางหลังสั่งการโดยอัตโนมัติ ให้เขาต้องยกมือลุกขึ้นประท้วง
ทำไมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยในยุคปัจจุบันยินยอมพร้อมใจกันลดทอนอำนาจและศักดิ์ศรีตนเองและมอบอำนาจอาญาสิทธิ์ให้กับองค์กรอื่นที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งอย่างศาลและองค์กรอิสระ? ประเดี๋ยวก็ได้ยินคำว่า “ก้าวล่วงศาล” บ้าง “ก้าวล่วงองค์กรอิสระ” บ้าง “เรื่องนี้อยู่ในศาล เราไม่ควรไปยุ่ง” บ้าง “ศาลตัดสินแล้ว เราไม่ควรก้าวล่วง” บ้าง
ทำไมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยผันตนเองจาก “ผู้แทน” ของราษฎรกลายเป็น “นักร้อง” ที่คอยร้องเรียนกันไปกันมาเพื่อกำจัดศัตรูทางการเมืองของตน? ประเดี๋ยวก็ข่มขู่ฟ้องร้องดำเนินคดี ประเดี๋ยวก็เข้าชื่อร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ หากพิจารณาจากระบบโครงสร้างแล้ว ผมพบว่าโครงสร้างและระบบการเมืองไทยได้ “ล้อมคอก” นักการเมืองไทย ในสองประการ
ประการแรก โครงสร้างและระบบการเมืองไทยทำลายความคิดสร้างสรรค์ของนักการเมือง
รัฐธรรมนูญ กฎหมาย กฎระเบียบทั้งหลาย ถูกออกแบบมาเพื่อทำให้นักการเมืองทำอะไรไม่ได้ ล้อมกรอบนักการเมืองให้มากที่สุด กฎเกณฑ์พวกนี้มาในนามของ “การตรวจสอบนักการเมือง” บ้าง “ป้องกันการทุจริตคอรัปชั่น” บ้าง เมื่อนักการเมืองถูกทำให้เป็น “วายร้าย” พวกเขาก็ต้องถูกตรวจสอบอย่างเข้มข้น จนแทบสร้างสรรค์สิ่งใหม่ไม่ได้
คนคนหนึ่ง ก่อนเข้ามาแวดวงการเมือง อาจมีความคิดสร้างสรรค์เปี่ยมล้น ต้องการเปลี่ยนแปลงการเมืองและประเทศไทยให้ก้าวหน้า มีแนวนโยบายที่แหวกขนบไปจากเดิม แต่แล้ว เมื่อเขาเข้ามาเหยียบแดนแห่งนี้ในวันแรก เขาก็ต้องประสบพบเจอกับกฎกติกาบ้าบอมากมายที่ทำให้เขาปวดเศียรเวียนเกล้า อยากทำอะไรใหม่สร้างสรรค์ ก็มีอันต้องติดขัดกฎระเบียบต่างๆ นี่ก็ทำไม่ได้ นั่นก็ทำไม่ได้ นี่ก็เสี่ยง นั่นก็อาจถูกเล่นงาน นี่ เข้าคุก นั่น ยุบพรรค โน่น ตัดสิทธิ นานวันเข้า ความคิดสร้างสรรค์ของเขาก็ถูกล้อมกรอบไว้ด้วย “กรงขังกฎหมาย” กรงขังนี้บังคับให้เขาต้องเดินตามระบบราชการและเจ้าหน้าที่รัฐที่เป็นคนเขียนกฎและคุมกฎ หากไม่อยากเสี่ยงภัยใด ก็จงถามระบบราชการเสียก่อน ไปๆ มาๆ นักการเมืองของประชาชน ที่ควรคิดริเริ่มทำประโยชน์ให้ประชาชน ก็กลายเป็นนักการเมืองที่ต้อง “ขออนุญาต” จากระบบราชการเสียก่อนว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ จึงไม่น่าแปลกใจว่า ประเทศไทยไม่อาจมีนายกรัฐมนตรีที่เป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงได้ ประเทศนี้อนุญาตให้มีแต่ “ปลัดประเทศ” แห่งระบบราชการไทย
บรรดา “กรงขังกฎหมาย” เหล่านี้ ไม่เพียงแต่ทำลายจินตนาการและความสร้างสรรค์ของนักการเมืองเท่านั้น
ยังทำให้นักการเมืองหมกมุ่นไปกับตัวอักษรกฎหมาย เมื่อมีกฎ ก็ต้องมีมาตรการบังคับในกรณีที่ละเมิดกฎ เมื่อนักการเมืองถูกทำให้เป็นวายร้าย หากนักการเมืองละเมิดกฎ ก็ต้องถูกลงโทษหนัก ตั้งแต่ ปลดออก ชดใช้เงิน เข้าคุก ยุบพรรค ตัดสิทธิทางการเมืองหลายปี หรือตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีวิต ด้วยบทลงโทษที่หนักเช่นนี้ ทำให้นักการเมืองที่ต้องการกำจัดฝักฝ่ายตรงกันข้ามกับตนเล็งเห็น “เครื่องมือ” อันทรงผลานุภาพ นั่นคือ “กฎหมาย”
พวกเขานำกฎระเบียบต่างๆ มาเล่นแร่แปรธาตุ เสาะแสวงหารูหาช่องเพื่อร้องเรียนไปยังองค์กรต่างๆให้จัดการนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามของตน แทนที่จะแข่งขันกันทำประโยชน์ให้ประชาชน ก็มาสาละวนกับการเอาตัวอักษรมาตะแบงตีความ จาก “ผู้แทน” ของราษฎร ก็กลายเป็น “นักร้อง” ร้องเรียนเพื่อกำจัดศัตรูของตน
สิ่งที่เลวร้ายที่สุดสำหรับปรากฏการณ์ “นักร้อง” ไม่ใช่ว่านักการเมืองต้องพ้นจากตำแหน่งหรือถูกตัดสิทธิ แต่มันคือ นักการเมืองร่วมมือร่วมใจประเคนเอาอำนาจชี้เป็นชี้ตาย ประหารชีวิตทางการเมืองให้กับบรรดาศาลและองค์กรอิสระ พวกคนใส่ชุดครุยนั่งบนบัลลังก์ศาล พวกคนใส่สูทผูกไทนั่งในองค์กรอิสระ ได้เข้ามามีบทบาททางการเมือง มีอำนาจ ได้ขี่คอนักการเมือง ไม่ใช่เพราะพวกเขาร้องขอ แต่นักการเมืองวิ่งไปเอาคอให้เขาขี่เสียเอง ไม่ต่างอะไรกับ ไก่ตีกันในเข่ง ไม่ร่วมมือกันทลายเข่ง สุดท้าย ก็โดนคนจับไปเชือดตายหมด
“ประชาชนสามารถติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา หรือสอบถามที่ 02-399-4012 ถึง 13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง” นายอนุชา กล่าว
ต่อมาท่านเสรีพิศุทธ์ก็เข้ารับราชการตำรวจในตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้บัญชาการประจำกรมตำรวจ มีผลงานสร้างชื่อด้วยการจับกุม และดำเนินคดีนายสมชาย คุณปลื้ม (กำนันเป๊าะ) ข้อหาคดีทุจริตการจัดซื้อที่ดินทิ้งขยะที่เขาไม้แก้ว
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป